วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดี



บทที่ 1

บทนำ

แนวคิด ที่มาและความสำคัญ

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรมประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 คำนมัสการคุณานุคุณ


บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
 (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดี
ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมาย
ให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
และนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑. ความเป็นมา

คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่2 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

บทที่ ๒
 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461

                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนริทร์คำโคลง  เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
ผู้แต่ง
นรินทรธิเบศร์ (อิน)

ลักษณะคำประพันธ์

ร่ายสุภาพ  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก

ความเป็นมา

นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน  นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น  ได้แก่
โคลงนิราศหริภุญชัย  ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เนื้อหานิราศโดยทั่วไปมักเป็น
การคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก  เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม  สำหรับนิราศนรินทร์คำโคลง  มีลักษณะเป็นนิราศแท้
คือ  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า
นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะมากเรื่องหนึ่งของไทย อ่านเพิ่มเติม