วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนริทร์คำโคลง  เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
ผู้แต่ง
นรินทรธิเบศร์ (อิน)

ลักษณะคำประพันธ์

ร่ายสุภาพ  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก

ความเป็นมา

นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน  นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น  ได้แก่
โคลงนิราศหริภุญชัย  ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เนื้อหานิราศโดยทั่วไปมักเป็น
การคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก  เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม  สำหรับนิราศนรินทร์คำโคลง  มีลักษณะเป็นนิราศแท้
คือ  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า
นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะมากเรื่องหนึ่งของไทย อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น